nooknazha โพสต์ 2020-6-26 18:05:50

4. การทำ สีผิว โดยดูดสีจากภาพต้นแบบ [Mesh Tool]


4. การทำ สีผิว โดยดูดสีจากภาพต้นแบบ ขั้นตอนการทำงานหลักๆก็ยังเหมือนเดิมนะค่ะ คือ

1. ใช้ Mesh Tool สร้างโครงตาข่ายตรงบริเวณที่พบความแตกต่างของสี
2. ใช้เครื่องมือ Direct Selection Tool (หรือกดปุ่มA )คลิกที่จุดตัวกระจายเม็ดสีและใช้เครื่องมือ Eyedropper Toolดูดสีจากต้นแบบที่จุดๆนั้น

(บางจุดเราอาจต้องใช้วิธีดัดแขน ทั้ง 4 ของจุดกระจายเม็ดสี หรือโยกย้ายจุดกระจายเม็ดสีในโครงตาข่าย เพื่อให้เม็ดสีมีการกระจายตัวไปยังทิศทางต่างๆที่เราต้องการ)

3. ให้คลิก เปิด และ ปิด ไอคอนดวงตาที่หน้าเลเยอร์ เพื่อดูความใกล้เคียง ระหว่างภาพต้นแบบ และ ภาพชิ้นงานที่เรากำลังทำการดูดสี

แต่ทว่าในบทความนี้จะต่างกับบทความก่อนหน้าตรงที่ เราจะต้องนำอวัยวะทุกส่วนบนใบหน้ามาทำการเชื่อมสี เพื่อให้ดูกลมกลืนเหมือนเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมดค่ะ
ขั้นตอนเบื้องต้นจะคล้ายทุกขั้นตอนทำดวงตา จมูกและปากค่ะ นั่นคือใช้ Pen Tool สร้างเส้นโครงส่วนของใบหน้าตามภาพต้นแบบ และลงสีพื้นเป็นสีผิวเนื้อเข้ม

(คลิกที่ภาพเพื่อดูแบบขยายใหญ่)




จากนั้นก็ให้ใช้เครื่องมือ Mesh Tool สร้างโครงตาข่ายตรงบริเวณที่พบความต่างของจุดสีที่ภาพต้นแบบ และทำการดูดสีที่บริเวณนั้นมา
ค่อยๆทำไปทีละจุดค่ะ ตรงที่เป็นสิว หรือแผลเป็นจุดเล็กๆ ก็ให้เว้นเอาไว้ก่อน (เราจะทำในตอนท้าย)

ตรงส่วนของร่องปาก และร่องแก้ม ให้ดัดจุดโครงตาข่ายสีตามด้วยนะคะ

ค่อยๆเพิ่มทีละเส้นค่ะจะได้ไม่งงตอนดูดสี -*-

**ถ้าหากว่าเราดูดสีผิวใบหน้าจากต้นแบบมาจนได้สีผิวเนื้อที่เหมือนต้นแบบทุกอย่างแล้ว แต่ผลที่ออกมาคือ อวัยวะส่วนต่างๆ เช่น ดวงตา จมูก และปาก กลับยังเห็นรอยขาด เหมือนเป็นงานคนละชิ้น

เราจะต้องทำการเชื่อมสีเพื่อให้อวัยวะทุกส่วนบนผิวหน้าดูกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

วิธีการแรก คือ ใช้สีผิวเนื้อ(เข้ม) มาเป็นสีเชื่อมรอยต่อ เช่น ระหว่างชิ้นงานดวงตา คิ้ว และ จมูก (มันเป็นคนละส่วนกัน) เราจะใช้สีผิวเข้ม มาเป็นตัวสมานสี คือให้คลิกที่จุดโครงตาข่าย บริเวณขอบๆ ของชิ้นงานของเรา(ชิ้นใดก่อนก็ได้) และทำการเปลี่ยนสีใหม่ โดยใช้เครื่องมือ Eyedropper Tool ดูดสีตรงบริเวณที่เป็นสีผิวเนื้อเข้มมา

ที่จุดโครงตาข่ายที่ชิ้นงานอื่นซึ่งมีรอยต่อ ติดกัน ก็เช่นกัน เราจะต้องทำการเปลี่ยนสีใหม่ให้เป็นจุดสีผิวเนื้อเข้ม เหมือนกับสีขอบของชิ้นงานที่อยู่ใกล้เคียง

ทั้งนี้เราก็จะต้องเช็คดูระดับสี กับภาพต้นแบบด้วยว่ามีความคลาดเคลื่อนของสีแค่ไหน เพื่อไม่ให้ภาพของเราผิดแผลกกับภาพต้นแบบมากจนเกินไป


และในขณะเดียวกัน เราก็สามารถใช้สีอ่อน หรือสีระดับใดก็ได้ มาเป็นตัวสมานสีได้เช่นกันค่ะ เพียงแต่จะต้องจำไว้ว่า บริเวณขอบ ของชิ้นงานนั้นๆจะต้องเป็นสีเดียวกันกับสีที่เราต้องการจะทำการเชื่อมต่อ (ความเป็นสีเดียวกันของบริเวณขอบทั้งสอง - สามชิ้นงาน จะทำให้งานทั้งสองชิ้นของเรา ดูเชื่อมเหมือนเป็นชิ้นเดียวกัน)

-----------------------------------
ส่วนอีกวิธีในการเชื่อมต่อสีก็คือการเชื่อมต่อสีผิวหน้าของอวัยวะส่วนอื่นให้ดูเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น เบ้าตาล่าง กับผิวบริเวณเนินแก้ม

การเชื่อมต่อเช่นนี้จะ ซับซ้อนกว่านิดหน่อย เช่น ที่ชิ้นส่วนขอบดวงตาล่าง เราจะต้องคลิกเลือกจุดตาข่ายบริเวณริมขอบก่อน และทำการดูดสีผิวหน้าตรงบริเวณใกล้เคียงมา (ไม่ใช่ดูดสีจากภาพต้นแบบ แต่เป็นการดูดสีระหว่างชิ้นงานของเราเอง)

อีกเรื่องของการเชื่อมต่อสีก็คือ จุดสีทุกจุดจะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงสีใหม่ตามระดับสีของบริเวณนั้นๆ เพราะฉะนั้น เราจะต้องเช็ดดูให้ดีว่า มีจุดใดบ้างที่เรายังไม่ได้ทำการเปลี่ยนสี (แต่ถ้าทุกส่วนดูกลมกลืนกันดีอยู่แล้วก็ไม่ต้องเปลี่ยนสีใหม่)

เมื่อสีผิวหน้าโอเคแล้ว เราก็ค่อยมาเก็บรายละเอียดเล็กๆบนใบหน้า



เก็บรายละเอียดบริเวณไรผม เพื่อเตรียมทำเส้นผมเป็นขั้นตอนสุดท้าย





ส่วนของขั้นตอนทำคอก็ไม่มีอะไรยุ่งยากค่ะ คล้ายทุกขั้นตอนทำใบหน้า เพียงแต่จะง่ายกว่าตรงที่ไม่ซับซ้อนมาก และไม่ต้องเชื่อมสีผิวกับอวัยวะส่วนอื่นๆ






ใช้คำสั่ง View> Outline ดูเส้นโครงตาข่ายทั้งหมด



ในส่วนของการทำ จมูกตา ปาก และเส้นผมดูได้ที่่บบบทความต่อไปเลยนะคะ

******************************
บทความโดย นุ้ก
ขอจบบทความแค่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ ^^
(ขอสงวนสิทธิ์อนุญาตให้เผยแพร่เฉพาะในเว็บ www.graphicfufu.comเท่านั้น)
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: 4. การทำ สีผิว โดยดูดสีจากภาพต้นแบบ [Mesh Tool]